Content and Language Integrated
Learning (CLIL)
What is CLIL?
CLIL aims to
introduce students to new ideas and concepts in traditional curriculum subjects
(often the humanities), using the foreign language as the medium of
communication - in other words, to enhance the pupils' learning experience by
exploiting the synergies between the two subjects. This is often particularly
rewarding where there is a direct overlap between the foreign language and the
content subject — eg Vichy France, Nazi Germany, the Spanish Civil War.
How does the CLIL approach benefit
pupils?
Although it may take
a while for pupils to acclimatise to the challenges of CLIL, once they are
familiar with the new way of working, demonstrably increased motivation and
focus make it possible (and likely) that they will progress at
faster-than-usual rates in the content subject, providing that the principles
of CLIL teaching are borne in mind during planning and delivery. CLIL aims to
improve performance in both the content subject and the foreign language.
Research indicates there should be no detrimental effects for the CLIL pupils
(and often progress is demonstrably better).Other advantages include: stronger links with the
citizenship curriculum (particularly through the use of authentic materials,
which offer an alternative perspective on a variety of issues) increased
student awareness of the value of transferable skills and knowledge greater pupil confidence.
What are the practical implications
of introducing CLIL into the school curriculum?
The content subject
should always be the primary focus of any materials used in the CLIL classroom.
CLIL should not be used as an opportunity to use texts as glorified vocabulary
lists, or to revise concepts already studied in the mother tongue. However, it
is impossible to transfer existing content subject lesson plans across without
modifying these to take into account pupils' ability in the target language, and
therefore the planning process is vital. It is likely that, especially to begin
with, lessons will need to be challenging cognitively, with comparatively light
linguistic demands. Schools need to design materials to suit the needs of their
learners, and to enable them to develop until they are working at high levels
of cognitive and linguistic challenge.
What is the best approach to CLIL
teaching?
The diversity of
CLIL activity in UK schools is striking. It is not possible to generalise to
any extent about the subjects chosen, the type of school pioneering such
approaches, nor the ability of the learners chosen to participate. The
predominant language of the projects is French, although a number of projects
are operating in German or Spanish. It appears, then, that no approach to CLIL
can be set in stone. One of the purposes of the Content and Language
Integration Project is to compare the outcomes of different approaches in a
variety of different schools.
What about staffing?
Although
availability of CLIL-trained teachers is limited, preliminary research carried
out by CILT indicates that schools have adopted a wide variety of different
approaches to staffing, from non-native speaker linguists with no specialist
content subject knowledge, to native speaker subject content specialists, and
every possible permutation in between. CILT's evidence suggests that CLIL
teaching is frequently delivered through a combination of solo and
team-teaching, often supplemented by collaboration between departments in
non-contact time.
How do schools tackle timetabling
issues?
CILT research
revealed a range of different approaches to timetabling CLIL, from isolated
lessons over the school year and 'bilingual days', to modules and even
occasionally a whole year's commitment. Many schools are starting to combine
such work with class visits and/or partnerships with link schools abroad. Some
schools choose to launch fast-track GCSE foreign language courses in Years 8, 9 and 10, after an
initial diagnostic period. These run alongside lessons where the foreign
language learning is integrated with another curriculum subject.
What about national accreditation for
courses and modules taught in this way?
There is currently
no formal accreditation for bilingual work in the UK. This in part explains the
preponderance of KS3 initiatives in the case studies that
CILT is monitoring.
Where can I learn more?
CLIL compendium
Developed with
funding from the European Union, this site offers a comprehensive guide to different
CLIL methodologies, and links to a number of European sites.
Euroclic
This network aims to
actively promote exchanges of information, experience and materials between the
different categories of players in the field of content and language integrated
teaching as well as promoting their interests at a national and European level.
CLIL Axis
This project
presents best practice examples of Team Teaching as a CLIL method in the world
of professional education and work. The target groups are vocational educators
who teach content through a foreign language, language teachers, and working
life representatives who co-operate in the planning and implementation of
educational programmes.
CLIL Quality Matrix
A web-based CLIL
quality matrix, which shows core quality factors required for successful
implementation of teaching and learning through a foreign language.
การสอนแบบบูรณาการ (Content
and Language Integrated Learning : CLIL)
เทคนิคการสอนแบบบูรณาการ
เป็นการนำสาระการเรียนรู้ในวิชาที่สอนไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
บูรณาการ หมายถึงการทำให้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะขยายความเพิ่มเติมได้อีกว่าหมายถึงการทำให้หน่วยย่อย ๆ ที่สัมพันธ์อิงอาศัยกันเข้ามาร่วมทำหน้าที่อย่างประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง ( พระเทพเวที 2531 : 24 )
บูรณาการ หมายถึงการทำให้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะขยายความเพิ่มเติมได้อีกว่าหมายถึงการทำให้หน่วยย่อย ๆ ที่สัมพันธ์อิงอาศัยกันเข้ามาร่วมทำหน้าที่อย่างประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง ( พระเทพเวที 2531 : 24 )
บูรณาการ
หมายถึงการนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง
ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน
เพื่อประโยชน์ในการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ ( Integrated
Curriculum ) คือหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ
มาหลอมรวมเข้าด้วยกันทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เช่นเดียวกัน
การเรียนการสอนที่ดำเนินการด้วยวิธีบูรณาการเราเรียกว่า
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ( Integrated Instruction ) คือเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา
และเน้นที่การเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู
( สุวิทย์ มูลคำ และคณะ : 2543 )
การจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยเป็นการบูรณาการหลักสูตรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า
สหวิทยาการ ( Interdisciplinary ) วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยมีคุณลักษณะสำคัญคือการตั้งหัวเรื่องที่น่าสนใจขึ้นมา
แล้วนำความรู้จากวิชาการต่าง ๆ
มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ความแตกต่างที่สำคัญที่จำแนกการจัดการเรียนการสอนออกจากหลักสูตรก็คือ
การเรียนการสอนเน้นบูรณาการที่ระดับเนื้อหาวิชาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวพันกัน
แต่หลักสูตรเน้นบูรณาการที่รายวิชาโดยตรงก่อนที่จะไปแยกกำหนดเป็นเรื่องที่จะจัดการเรียนการสอนต่อไป
วัฒนา ระงับทุกข์
ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า “ การนำศาสตร์ต่างๆมาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง”
ชนาธิป พรกุล ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า “
การเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกชนิด ที่บรรจุอยู่ในแผนของหลักสูตร
เป็นการเชื่อมโยงแนวนอนระหว่างหัวข้อและเนื้อหาต่างๆที่เป็นความรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย
ทักษะพิสัย และจิตพิสัย การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง
การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้
ข้อมูลข่าวสารมาก
จึงเกิดเป็นหลักสูตรที่เรียกว่า
หลักสูตรบูรณาการ (Integrated curricula)
ซึ่งพยายามสร้างหัวเรื่อง
(Themes) ใน
โปรแกรมวิชาโดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กัน และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย”
หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curricula)
เป็น
หลักสูตรที่นำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียน ทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เกิดเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของหลักสูตรโดยรวม
ทำให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction)
เน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชาและเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู
ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ
ผลการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ถ้าสามารถดำเนินได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็ควรจะมีลักษณะโดยรวมดังต่อไปนี้
(ธำรง บัวศรี : 2532
)
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ
อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง
ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด
ด้วยกระบวนการเช่นไร ซึ่งแน่นอนว่า
กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)ไม่ใช่น้อย
2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย
คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ
แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย
ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว
อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น
นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3.
บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง เพียงแต่เปลี่ยน จิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว
สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด
ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน
การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
ทำไมต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
เหตุผลสนับสนุนการบูรณาการ
1. การขยายตัวของความรู้
มีเรื่องที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในหลักสูตรมากมาย เช่น
เอดส์ เพศศึกษา สิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องหาทางเลือกสาระให้ผู้เรียนเรียนในเวลาที่เท่าเดิม
2. หลักสูตรปัจจุบันไม่เหมือนชีวิตจริงเพราะเรียนเป็นช่วง
โรงเรียนต้องแสดงให้เห็นว่าแต่ละวิชาอิทธิพลต่อผู้เรียนอย่างไร
เขาควรต้องเห็นความสำคัญของทุกวิชาที่ถูกจัดเชื่อมโยงกันไว้
3.
ปัจจุบันเราไม่อาจฝึกคนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะไม่ได้
จะต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการสิ่งที่เรียนกับชีวิตในโลกกว้างได้ (Jacobs, 1989 : 3-4)
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนการบูรณาการอย่างน้อยอีก 2 ประการคือ
1. ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูปและสามารถนำไปแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
2. วิชาการหรือแนวคิดต่างๆที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย (เพราพรรณ
โกมลมาลย์ , 2541 : 66)
เนื่องจากวิถีชีวิตจริงของคนเรามีเรื่องราวต่าง
ๆ ที่มีความหมายสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่ได้
แยกออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ ดังนั้น
(สุวิทย์ มูลคำ และคณะ : 2543
)
1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง
โดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างไกลตัวออกไป
2. การขยายตัวของความรู้ในปัจจุบัน ขยายไปอย่างรวดเร็วมากมีเรื่องใหม่ ๆ
เพิ่มขึ้นมากมาย
จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกสาระที่สำคัญและจำเป็นให้ผู้เรียนในเวลาที่มีเท่าเดิม
3. ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูป
และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
4. เนื้อหาวิชาต่าง ๆ
ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนรู้อย่างมีความหมาย
ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา ลดเวลา แบ่งเบาภาระของครูผู้สอน
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้
ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
ประเภทของการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
เราสามารถบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนได้เป็นสองแบบ ( สุวิทย์ มูลคำ
อ้างถึง UNESCO
– UNEP, 1994 : 51 )
1. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ ( Interdisciplinary
)
เป็นการสร้างหัวเรื่อง ( Theme)
ขึ้นมาแล้วนำเนื้อหาจากวิชาต่าง ๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น
ซึ่งบางครั้งก็อาจเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า สหวิทยาการแบบมีหัวข้อ ( Themetic
Interdisciplinary Studies) หรือบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก ( Application – First
Approach ) การกำหนดหัวเรื่อง ( Theme ) ได้แก่
การสร้างหัวเรื่องโดยมีหลักในการกำหนดหัวเรื่องดังนี้
1. เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ
และมีโอกาสได้เลือกเรียน
2. เป็นเรื่องที่สามารถโยงความสัมพันธ์ได้หลายวิชาหรือหลายกลุ่มประสบการณ์
3. เป็นเรื่องที่นักเรียนมีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วและสอดคล้องกับชีวิตจริง
และมีความหมายต่อผู้เรียน
4. เป็นเรื่องที่มีแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนรู้ได้ศึกษาค้นคิดอย่างหลากหลาย
และเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับท้องถิ่นกับความรู้ที่เป็นสากล
5. เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน การตั้งชื่อต้องทันสมัย
และน่าสนใจยั่วยุให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน
2. การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ (
Multidisciplinary )
เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สอดแทรก ( Infusion
) ไว้ในวิชาต่าง ๆ
หรือบูรณาการเน้นเนื้อหาของวิชาเป็นแกนแล้วนำสิ่งที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเกิดไปสอดแทรกในวิชาแกนดังกล่าวซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า
การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก ( Discipline First Approach
)
กรมวิชาการได้แบ่งการบูรณาการหลักสูตรและการสอนเป็น 4 แบบดังนี้
1.
การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว
ครูสอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
กับหัวเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น
เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ
และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆเช่น
การอ่าน การเขียน การคิด
คำนวณ การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ
ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด
2.
การบูรณาการแบบคู่ขนาน
มีครูผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
จัดการสอนโดยอาจยึดหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน เช่น
ครูผู้สอนคนหนึ่งสอนวิทยาศาสตร์เรื่องเงา
ครูผู้สอนอีกคนอาจสอนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดระยะทาง โดยการวัดเงา
คิดคำนวณในเรื่องเงา ในช่วงเวลาต่าง ๆ จัดการทำกราฟของเงาในระยะต่าง ๆ หรืออีกคนหนึ่งอาจให้ ผู้เรียนรู้ศิลปะ เรื่องเทคนิค
การวาดรูปที่มีเงา
3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
การบูรณาการในลักษณะนี้นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา
หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่องครูผู้สอน
จัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษาคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และครูผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเป็นต้น
4. การบูรณาการแบบโครงการ
ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเป็นโครงการโดยผู้เรียนและครูผู้สอน
ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น
โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องกันในหลายชั่วโมงด้วยการนำเอาจำนวนชั่วโมงของวิชาต่าง
ๆ ที่ครูผู้สอนเคยสอนแยกกัน ในลักษณะของการสอนเป็นทีม
ในกรณีที่ต้องการเน้นทักษะบางเรื่องเป็นพิเศษครูผู้สอนสามารถแยกการสอนได้ เช่น
กิจกรรมเข้าค่ายดนตรี
กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ
กิจกรรมเข้าค่ายศิลปะ เป็นต้น
ที่มา: http://portal.in.th/inno-na/pages/291/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น