Design and Developing Learning

การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)


              การเรียนรู้แบบร่วมมือหรือการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยมีหลักการสำคัญคือ การให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยยึดแนวคิดที่ว่า ความสำเร็จของสมาชิกทุกคนจะรวมเป็นความสำเร็จของกลุ่ม” (สุคนธ์ และคณะ, 2545) สืบเนื่องจากหลักการนี้ Roger (1997) ชี้ให้เห็นปัจจัยสำคัญประการ ได้แก่ Positive interdependence หรือการพึ่งพากันและกันในทางบวก และ Individual accountability คือ การมีส่วนในความรับผิดชอบในหน้าที่หนึ่งของกลุ่มการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ถือว่าผู้เรียนนำเอาประสบการณ์เดิมไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความรู้สึกหรือทักษะเข้ามาในชั้นเรียน และจะพัฒนาความรู้นั้นต่อไปขณะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานครูและสภาพแวดล้อม ดังนั้น ครูเป็นเพียงผู้ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคน และเป็นผู้ช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงแนวคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างกลุ่มผู้เรียนซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยผ่านการพิจารณาแนวคิดของเพื่อนๆ ผ่านการสะท้อนความคิดเห็น และให้เหตุผลกับแนวคิดของตนเอง (วรรณทิพา, 2541)  การเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ใช่เป็นการจัดให้ผู้เรียนนั่งทำงานเป็นกลุ่ม แบบที่เรียกกันว่า “Group work” แต่ต้องอาศัยกระบวนการของกลุ่ม ซึ่งผู้เรียนต้องเข้าใจและตระหนักในหน้าที่และความสำคัญของตนเองที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่ม (Gillies, 2004) งานหรือปัญหาที่ให้นักเรียนร่วมมือกันทำ ควรมีลักษณะที่กระตุ้นให้สมาชิกได้มีโอกาสสื่อสาร อภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและสร้างเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม ซึ่งจะนำมาซึความสำเร็จร่วมกัน
เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีเทคนิคต่าง ๆ มากมาย สุคนธ์และคณะ (2545) ได้กล่าวถึงเทคนิคต่างๆดังต่อไปนี้ เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw) เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT: Team Games Tournament) เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD: Student Teams Achievement Division) เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: GroupInvestigation) เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share) เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Square) เทคนิคคู่ตรวจสอบ(Pairs Check) เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน (Three-Step Interview) เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered Heads Together) เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง (Roundrobin) เทคนิคโต๊ะกลม (Roundtable) เทคนิคการเรียนร่วมกัน (LearningTogether) และเทคนิคช่วยกันคิดช่วยกันเรียน (TAI: Team Assisted Individualization) ในที่นี้ขอกล่าวถึงเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่เรียกว่า เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)
สรัญญา รุจิเรขเรืองรอง*รูปแบบการเรียนรู้ เป็นลักษณะเฉพาะของคนแต่ละคน
ซึ่งบูรณาการ 1 ลักษณะทางกายภาพ อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดปรากฏให้เห็นว่า คนแต่ละคน เรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไรเนื่องจากคนทุกคนมีจุดเด่น จุดด้อย ต่างกัน และมีความชอบที่แตกต่างกัน บางคนเรียนได้ดีด้วยการฟัง บางคนเรียนได้ดีด้วยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (จด, บันทึก) บางคนชอบลงมือปฏิบัติ หลายคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อเข้าอยู่เป็นกลุ่ม บางคนชอบทำงานคนเดียวจึงไม่มีวิธีใดดีที่สุดสำหรับคนทุกคนนอกจากนี้ สิ่งเร้าต่าง ๆ อันได้แก่ สภาพแวดล้อม อารมณ์ สภาพทางสังคม เศรษฐกิจสถานะของครอบครัว ลักษณะทางกายภาพ และสภาวะทางจิตใจ ยังมีผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของบุคคลแต่ละคนการศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้ คล้ายบุคลิกภาพมากกว่าศึกษาพฤติกรรมตามพื้นฐานทางจิตวิทยา จำไว้ว่า รูปแบบการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได
ทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้
จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียนทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้ Learning Style
จำแนกตามแบบการคิด(สภาพความคิดของบุคคล ที่มีผลมาจากสภาพแวดล้อมลักษณะทางกายภาพ ฯลฯ)รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียน เช่น :-
ทฤษฎีของ Grasha & Reichman
1. แบบแข่งขัน - ชอบเอาชนะเพื่อน
2. แบบอิสระ - เชื่อมั่น
3. แบบหลีกเลี่ยง - ไม่สนใจ
* อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร
1 รวมหน่วยต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4. แบบพึ่งพา - อาจารย์และเพื่อน เป็นแหล่งความรู้
5. แบบร่วมมือ - ร่วมมือแสดงความเห็น ทั้งในและนอกชั้นเรียน
6. แบบมีส่วนร่วม - จะพยายามมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในกิจกรรมการเรียน (ในชั้นเรียน)แต่จะไม่สนใจกิจกรรมนอกหลักสูตรเลย
รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามแบบการคิด เช่น :-
ทฤษฎีของ วิทคิน และคณะ
1. แบบพึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field dependent)
2. แบบไม่พึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field independent)

ทฤษฎีของ คาร์ล จี จุง แบ่งคนเป็น 2 แบบ
1. พวกเก็บตัว (Introver)
2. พวกแสดงตัว (Extrover)
ทฤษฎีของ Kagan และคณะ แบ่งวิธีคิดของมนุษย์เป็น 3 ประเภท
1. คิดแบบวิเคราะห์ Analytical Style รับรู้สิ่งเร้าในรูปของส่วนย่อยมากกว่าส่วนรวม นำส่วนย่อยมาประกอบเป็นความนึกคิด
2. คิดแบบโยงความสัมพันธ์ Relational Style พยายามโยงสิ่งต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กัน
3. แบบจำแนกประเภท Categorical Style จัดสิ่งเร้าเป็นประเภทตามความรู้หรือประสบการณ์ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสิ่งเร้านั้น
ทฤษฎีของ Honey & Mumford แบ่งคนเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
รับรู้ประสบการณ์ใหม่ Pragmatist Activist
นักปฏิบัติ นักกิจกรรม
ประยุกต์สู่การปฏิบัติ พิจารณาไตร่ตรองTheorist Reflector
นักทฤษฎี นักไตร่ตรอง นำไปสร้างเป็นทฤษฎี
- สรุป -
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นบุคลิกของนักศึกษาที่อธิบายว่า
- นักศึกษาเรียนอย่างไรที่จะทำให้เข้าใจเนื้อหาวิชาได้ดีที่สุด
- นักศึกษามีพฤติกรรมเฉพาะบุคคลอย่างไรเก็บตัว แสดงตัวรอบคอบ หุนหันพลันแล่นตัดสินใจด้วยญาณวิถี ตัดสินใจด้วยเหตุผล
- นักศึกษามีความสามารถในการรับและคงไว้ซึ่งสิ่งที่เรียนอย่างไร
* เป็นยุทธวิธีที่นักศึกษาชอบใช้ในการเรียน
* เป็นลักษณะที่ปรากฏให้เห็นได้ว่า คนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร
http://www.mbs.mut.ac.th/paper/pdf/32.pdf .19กันยายน 2552
ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence)

1.ความหมาย ประวัติความเป็นมาของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา 
ทิศนา แขมมณี (2545 : 85) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญาว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีการสอนแบบนี้ คือ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ เชาวน์ปัญญาเป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาแบบเดิมนั้น มักจะเน้นความสามารถในเชิงภาษา คณิตศาสตร์ และความคิดเชิงตรรกะ ดังจะเห็นได้จากการสอบคัดเลือกทั่วไป ทั้งวิชาวัดแววความเป็นครูในการสอบแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัย หรือ ข้อสอบบรรจุเข้ารับราชการ มักจะเน้นองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เป็นหลัก และถือว่าเป็นสิ่งกำหนดระดับเชาวน์ปัญญาของบุคคลไปตลอดชีวิต เพราะทฤษฎีเดิมถือว่า เชาวน์ปัญญาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต แต่การ์ดเนอร์ ได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาใหม่ว่า (Gardner. 1983 อ้างใน ทิศนา แขมมณี. 2545 : 86)

ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการ
สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมใน
แต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและ
เพิ่มพูนความรู้

การ์ดเนอร์นั้น มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสติปัญญาที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา และทางคณิตศาสตร์เท่า นั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน (ดังจะได้กล่าวต่อไป) แต่การ์ดเนอร์เองก็กล่าวว่าอาจจะมีมากกว่า 8 ประเภท โดยคนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้ เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล 
2.เชาวน์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย หากแต่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และการส่งเสริมที่เหมาะสม
การ์ดเนอร์เองได้อธิบายถึงเชาวน์ปัญญาไว้ว่า ประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการ ได้แก่
      1.ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ และตามบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
      2.ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ และสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3.ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้

2.องค์ประกอบของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (เชาวน์ปัญญา 8 ด้าน)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไว้ 8 ด้าน โดย พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว (2546 : 109 – 114) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดดังนี้
2.1 สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
สติปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วน Brocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจได้อยู่
2.2 สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)
สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์ มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
1. ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (mathmatics)
2. ด้านวิทยาศาสตร์ (Science)
3. ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic)

2.3 สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily – Kinesthetic Intelligence)
สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา) คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก
2.4 สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น
2.5 สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้ แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น
2.6 สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)
เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
2.7 สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้ มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม
2.8 สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence)
เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น


ตัวอย่างกิจกรรม
activity Cow and Bullfrog activity

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น