The Challenge of Teaching Listening
Skills
One of the largest inhibitors for students is often mental block. While
listening, a student suddenly decides that he or she doesn't understand what is
being said. At this point, many students just tune out or get caught up in an
internal dialogue trying translate a specific word. Some students convince
themselves that they are not able to understand spoken English well and create
problems for themselves.
They key to helping students improve their listening skills is to
convince them that not understanding is OK. This is more of an attitude
adjustment than anything else, and it is easier for some students to accept
than others. Another important point that I try to teach my students (with
differing amounts of success) is that they need to listen to English as often
as possible, but for short periods of time.
I like to use this analogy: Imagine you want to get in shape. You decide
to begin jogging. The very first day you go out and jog seven miles. If you are
lucky, you might even be able to jog the seven miles. However, chances are good
that you will not soon go out jogging again. Fitness trainers have taught us
that we must begin with little steps. Begin jogging short distances and walk some
as well, over time you can build up the distance. Using this approach, you'll
be much more likely to continue jogging and get fit.
Students need to apply the same approach to listening skills. Encourage
them to get a film, or listen to an English radio station, but not to watch an
entire film or listen for two hours. Students should often listen, but they
should listen for short periods - five to ten minutes. This should happen four
or five times a week. Even if they don't understand anything, five to ten
minutes is a minor investement. However, for this strategy to work, students
must not expect improved understanding too quickly. The brain is capable of
amazing things if given time, students must have the patience to wait for
results. If a student continues this exercise over two to three months their
listening comprehension skills will greatly improve.
Listening Resources
Ø Listening
Quizzes
Ø Intonation
and Stress: Key to Understanding
Related Articles
Ø Teaching
ESL / EFL
Ø Special
Education - Profiles
Ø Listening
Skills Tips for ESL Learners
Ø Quiz
Improving Character Adjectives Vocabulary - Vocabulary Quiz on adjecti...
Ø Setting
ESL Class Objectives - ESL Teaching Objectives Meeting Students Lea...
From: ESL Website
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening
Skill)
การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual
Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused
Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ
การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง
ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร
จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิควิธีปฏิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง
มี 2
ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง
สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น
ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ
สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา
การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง
ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม
คือ
กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง
หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)
แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening)
การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ
ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง
โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท
ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น การใช้รูปภาพ
อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรืออภิปราย หรือ
หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์
อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก
โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง
อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด
เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง
และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆการทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฏอีกในสารที่จะได้รับฟัง
เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง
หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening)
เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้นกิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง
แต่เป็นการ“ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ”
กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ
เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูดมากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้ - ฟังแล้วชี้ เช่น
ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของหรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน
ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ
1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ
ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย Xลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
- ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
- ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ
ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น
คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ
นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
- ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง
ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค
ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง
โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
-ฟังแล้วปฏิบัติตาม
ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง
ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
- ฟังแล้วแสดงบทบาท
ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง
ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
- ฟังแล้วเขียนเส้นทาง
ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ
ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ
ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง
ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
3) กิจกรรมหลังการฟัง
(Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้วเช่น
อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation)
ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์
สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง
โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง
หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น